วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

นักเขียนต้องพกสิ่งเหล่านี้ติดตัว















โดยศักยภาพของมนุษย์แล้วไม่มีใครที่จะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆไว้ได้ทั้งหมด เรื่องราวบางเรื่องถ้าเราปล่อยให้มันผ่านไปสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง ข้อมูลก็อาจจะถูกลบเลือนไปได้


นักเขียนก็เช่นเดียวกันจ๊ะ ในบางครั้งเมื่อไปพบข้อมูลดีๆ และเกิดแรงบรรดาลใจที่อยากจะเขียนเรื่องราวดังกล่าวนั้น แต่เนื่องจากเวลาหรือสถานที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้เขียนไม่ได้ หลายต่อหลายครั้งที่เราปล่อยให้มันผ่านไป พอมีเวลาจะเขียนก็พบว่าเราลืมมันไปซะแล้วพี่นัทเป็นบ่อยเลยล่ะจ๊ะ



1. สมุดบันทึก
สมุดบันทึกเป็นสิ่งจำเป็นนักเขียนมาก ทั้งนี้เพราะการเดินทางย่อม อาจจะต้องพบต้องเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย บางทีสิ่งที่พบเห็นนั้นเป็นเรื่องที่นักเขียนเห็นว่าแปลกและน่าสนใจสิ่งที่จะช่วยจำได้เป็นอย่างดีก้คือการจดบรรทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเขียน

สมุดบันทึกนี้ บางคนชอบที่จะใช้สมุดบันทึกเล่มโตๆ เพราะเวลาจดสามารถจดได้มากและละเอียดกว่า แต่บางคนก็บอกว่าสมุดบันทึกเล่มใหญ่ พกพาไม่สะดวก จะใช่เล่มเล็กแทนก็ได้

เรื่องสมุดบันทึกจะเล่มเล็กหรือใหญ่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งที่สำคัญก็คือเราชอบที่จะใช้บันทึกแบบไหน ขออย่างเดียวว่าขอให้สมุดบันทึกเล่มดังกล่าวนั้นสามารถบันทึกความทรงจำของเราไว้ได้เท่านั้นก็เพียวพอ

น้องๆนักเขียนบางคนไม่ชอบใช้สมุดบันทึก แต่ชอบใช้กระดาษเป็นแผ่นๆ ปัญหาที่จะเกิดตามมาก็คือมันจะหาย วิธีแก้ง่ายๆก็คือ หลังจากที่จดบันทึกแล้วให้รวมรวบตามเรื่องหรือตามหัวข้อที่บันทึกแล้วแมคเย็บรวมเป็นเล่มเดียวกัน แล้วจัดใส่แฟ้มแยกเป็นเรื่องๆไป

วิธีอย่างนี้ก็นับว่าใช้ได้ เวลาเราจะเขียนเมื่ออยากจะเขียนเราก็แค่หยิบแฟ้มขึ้นมาเปิดหาข้อมูลที่เราต้องการเท่านั้นเอง



2. บัตรช่วยจำ
ในบางครั้งผู้เขียนก็มักจะตัดกระดาษแผ่นเล็กๆ เสียบเข้าไปในกระเป๋าพกพาไปไหนมาไหนด้วย เพราะบางครั้งไปพบเห็นข้อความหรือได้ฟังคำพุดที่ประทับใจจากใครก็จดเอาไว้ได้ทันที หรือแม้แต่ตอนที่น้องๆเกิดปิ้งไอเดียดีๆ ก็สามารถจดเอาไว้ได้ในตอนนั้นเลย เวลาจะใช้ก็แค่เปิดดูทบทวนวามทรงจำซักนิดความคิดครั้งนั้นก็จะฉายออกมาให้เรารู้ว่าในขณะนั้นเรากำลังคืออะไรอยู่

วิธีแบบนี้ทำให้เรามีสติแล้วยังเป็นการฝึกหัดการใช้ความทรงจำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยล่ะจ๊ะ


3. เทปบันทึกเสียงขนาดเล็ก
ยุคเทคโนโลยีอย่างนี้ บางครั้งการจดบันทึกในช่วงฉุกละหุกจะไม่ทันการณ์ การนำเทคโนโลยยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ช่วยให้นักเขียนทั้งหลายไม่พลาดลายละเอียดต่างๆ อาจจะใช้เครื่องบันทึกเสียง หรือไม่ก็เครื่องmp3ที่สามารถบันทึกเสียงได้ก็ได้จ๊ะ



4. ปากกา ดินสอ ม้วนเทป ถ่าน
ในกรณีที่ใช้สมุดจกบันทึก บัตรช่วยจำ เทปบันทึกเสียง สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คืออุปกรณ์สำหรับใช่เขียน และอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องบันทึกเสียง สิ่งเหล่านี้ต้องเตรียมให้พร้อมเพราะบางครั้งบางคราวข้อมูลสำคัญ เกิดขึ้นเพียงแป๊ปเดียวเท่านั้น


5. เทคนิคการบันทึก
การบันทึกข้อมูลที่จะเก็บไว้ใช้เขียนหนังสือนั้น บางอย่างไม่จำเป็นต้องจดบันทึกโดยละเอียดก็ได้ เพราะการจดบันทึกนี้เป็นการจดบันทึกเพื่อช่วยจำ สำหรับข้อมูลบางอย่างเท่านั้น

ดังนั้นการจดบันทึกจึงต้องอาศัยเทคนิคในการจดดังนี้



5.1 จดประเด็นที่เราไม่เข้าใจ

เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเรา อย่างเช่น ภาษาถิ่นที่มีสำเนียง และความหมายที่เราไม่คุ้นเคย แต่ถ้าจะนำมาเขียนเป็นเสน่ห์ของเรื่องก็จดบันทึกกันลืมเอาไว้

5.2 เกร็ดความรู้เสริม

เรื่องราวหลายเรื่องที่จะนำมาเขียนหนังสือนั้น บางทีก็มีตำนานเข้ามาแทรกซึ่งไม่มีหลักฐานอ้างอิง แต่ก็เป็นเรื่องราว เป็นความเชื่อที่เบ่าสืบต่อกันมา โดยใช่พยามแวดล้อมที่ปรากฎอยู่เป็นเครื่องยืนยัน

เรื่องทำนองนี้สามารถนำมาเสริมประกอบการเขียนให้มีรสชาติได้ เพราะเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ ช่วยเสริมเรื่องจริงให้เด่นขึ้น คนอ่านก็ได้ทั้งสาระและความบันเทิงควบคู่กันไป








1 ความคิดเห็น:

yuri กล่าวว่า...

ยินดีที่ได้รู้กค่ะ.
ฉันเป็นคนเขียนหนังสือค่ะ.
เวปไซด์ ดูด้วยนะคะ.
http://nogapon.blogspot.com/