วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ธนาคารออมสิน



ธนาคารออมสิน มั่นคง จริงใจ รับใช้สังคม

^^"


พระมหากษัตริย์ผู้ทรงต่อตั้งธนาคารออมสิน


"แบงค์ลีฟอเทีย” ต้นแบบการออม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการ
ออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด
การเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน
เงินทองของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจร
ผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น
โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า “ลีฟอเทีย”
ในปี พ.ศ. 2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสำรวจ
นิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรง
เข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่า
ควรใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็น
ความสำคัญของการออม




กำเนิดธนาคารออมสิน
ยุคที่ 1 คลังออมสิน สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2456 – 2471
เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่
ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้น
ในสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลัง
มหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456”
ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456

เติบโตอย่างรุดหน้า
ยุคที่ 2 กองคลังออมสิน สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2472 - 2489
ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริเห็นควรโอกิจการ
คลังออมสินให้้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข กิจการได้เริ่มแพร่หลายและเป็นที่นิยมของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมาก จึงเรียกได้ว่าเป็น
“ยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย”




รากฐานความมั่นคง
ยุคที่ 3 ธนาคารออมสิน สังกัดกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2490 – ปัจจุบัน
ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์และความสำคัญ
ของคลังออมสินที่มีต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจภายใต้ “พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489” มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสินตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 และคำว่า “คลังออมสิน” ก็ได้เปลี่ยนเป็นคำว่า “ธนาคารออมสิน” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา




โฉมใหม่สู่ความทันสมัยครบวงจร
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาระบบการดำเนินงานและการบริการ ในทุกด้านอย่างเป็นพลวัตร ธนาคารจึงได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ามากกว่า 26 ล้านบัญชี โดยระดมทรัพยากรในทุกด้านเตรียมการเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์และรูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยและครบวงจร ยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย
ปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปของสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีสาขา 594 สาขาทั่วประเทศ มีอายุครบ 94 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ที่ผ่านมาี้